มนเสน่ห์บทกวี Haiku

ไฮกุ (俳句, haiku) เป็นบทกวีญี่ปุ่น มีบทบาทมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไฮกุเป็นบทกวี โดยที่กวีอื่นมีความยาวมากน้อยต่างกันและมีบังคับสัมผัสตามหลักฉันทลักษณ์ ทำให้บทกวีดังกล่าวไม่เหมาะกับการแสดงออกถึงปรากฏการณ์ทางจิต-วิญญาณและความลึกซึ้งออกมาได้ เนื่องจากบทกวีได้ถูกบังคับยึดติดกับรูปแบบและข้อจำกัดตายตัว แต่บทกวีไฮกุได้ตัดทอนลงให้เหลือเพียงตัวอักษร 3 วรรค ยาว 5-7-5 รวมเป็นตัวอักษรเพียง 17 ตัวเท่านั้น

ประวัติไฮกุ
ไฮกุมาจากบทกวีดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่เรียกว่าไฮไคขเร็งะ ต่อมาในสมัยเอโดะ ท่านปรมาจารย์ มะสึโอะ บะโช(ค.ศ. 1644ข1694) ได้ขัดเกลาและสร้างแบบแผน ซึ่งต่อมาในสมัยเมจิได้มีการเรียกการประพันธ์ในแบบนี้ว่าไฮกุ ปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นที่นิยมแต่งไฮกุถึง 10 ล้านคน และชาวต่างประเทศที่รักการแต่งไฮกุก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งในหมู่ชาวไทย

An old pond!
A frog jumps in,
The sound of water.
สระน้ำเก่าแก่
กบกระโดดลงน้ำ
เสียงดังจ๋อม
ผลงานหลายชิ้นของท่านบาโช
From the plum-scented air
Suddenly the sun comes up
On the mountain road.
(Basho)
กลิ่นลูกพลัมอวลอยู่ในอากาศ
พลันอาทิตย์ก็ลอยดวงขึ้น
เหนือถนนในภูเขา
The autumn moon is bright
Sea-waves whirl up to my gate,
Crested silvery white.
(Basho)
พระจันทร์ฤดูใบไม้ผลิกระจ่าง
คลื่นทะเลซัดแรงขึ้นมาถึงประตู
น้ำสะท้อนแสงเป็นสีเงินยวง
Season of spring days!
There a nameless hill has veils
Of soft morning haze.
(Basho)
ห้วงเวลาในยามฤดุใบไม้ผลิ
ภาพของเนินเขาไร้ชื่อดูเลือนลาง
ด้วยสายหมอกจาง ๆ ของยามเช้า
นอกจากนี้ยังมีอีกไฮกุของกวีอีกหลายท่าน
ไม่ว่าจะเป็นของญี่ปุ่น และของชาวต่างประเทศ
ตัวอย่างไฮกุของกวีชาวต่างชาติ
In the dust
On the carriage window
I love you.
(John MacDonald)
ฝุ่นจับเป็นฝ้า
บนหน้าต่างรถม้า
มีคนเขียนคำว่าฉันรักคุณ
Watched her approach
And as we finally pass
Our umbrellas touch.
(Sean O' Connor)
เธอเดินใกล้เข้ามา
พอเดินสวนกัน
ร่มของเราก็แตะกัน
ไฮกุเป็นกลอนญี่ปุ่นไม่เน้นสัมผัส มีสามบรรทัด
บรรทัดแรกสามพยางค์ บรรทัดสองห้าพยางค์ บรรทัดสามสามพยางค์
ไฮกุสื่อ ความสงบ เรียบง่าย ไร้เดียงสา
บทกลอนจะผุดขึ้นมาจากสัมผัสลึกๆ
ไม่มีเจตนาในการแต่ง ดังนั้นจึงให้
สัมผัสลงไปในความรู้สึกของผู้อ่านได้....
เพราะไฮกุรุ่นคลาสสิคเป็นภาษาญี่ปุ่น
การแปลเป็นภาษาอื่นๆเลยยากที่จะ
รักษาจำนวนพยางค์แต่ละบรรทัดไว้ได้
ถึงแม้ผู้แปลพยายามคงสภาพเดิมไว้
แต่ถึงที่สุดแล้วอาจทำได้แค่รักษาอารมณ์
ไฮกุไว้ โดยปล่อยเรื่องจำนวนพยางค์ไป...